http://krumodsay.blogspot.com/ (เว็บดีที่แนะนำ)
กำเนิดลูกเสือโลก
การลูกเสือเกิดขึ้นในประเทศอังกฤษเป็นแห่งแรกในโลก เมื่อ พ.ศ.2451
โดยพลโท ลอร์ด เบเดน เพาเวลล์ (Lord Baden Powell) หรือ B-P มูลเหตุจูงใจที่ตั้งกองลูกเสือขึ้นมาก็คือ
ท่านไปรับราชการทหารโดยไปรักษาเมืองมาฟฟิคิง (Mafiking) อันเป็นเมืองขึ้นของอังกฤษในสหภาพแอฟริกาใต้
ขณะนั้นเกิดสงครามขึ้นกับพวกบัวร์ (Boer)
ในการผจญศึกใหญ่คราวนั้น ท่านได้ฝึกเด็กขึ้นหน่วยหนึ่่ง
เพื่อช่วยราชการสงคราม เช่น เป็นผู้สื่อข่าว สอดแนม รักษาความสงบเรียบร้อยภายใน
รับใช้ในการงานต่างๆ เช่น ทำครัวเป็นต้น ปรากฎว่าได้ผลดีมาก เพราะเด็กที่ได้รับการฝึกเหล่านั้นสามารถปฎิบัติหน้าที่ที่ใช้รับมอบหมายได้อย่างเข้มแข็งว่องไว
ได้ผลดีไม่แพ้ผู้ใหญ่และบางอย่างกลับทำได้ดีกว่าผู้ใหญ่เสียอีก
เมื่อท่านกลับจากราชการสงครามเมืองมาฟฟิคิงแล้ว
ท่านได้ร่างโครงการอบรมเด็กขึ้น มีหลักการคล้ายลูกเสือในปัจจุบัน ต่อมาในปี พ.ศ. 2450
ท่านได้ทดลองตั้ง Boy Scout ขึ้นเป็นกองแรกที่
เกาะบราวน์ซี ไอแลนด์ (Brown Sea Island )โดยเกลี้ยกล่อมเด็กที่เที่ยวเตร่อยู่ในที่ต่างๆ
มาอบรมแล้วท่านได้คอยคุมการฝึกตามโครงการด้วยตนเอง
และได้ผลดีสมความมุ่งหมายทุกประการจึงทำให้เกิดความบันดาลใจ
ในอันที่จะขยายกิจการให้กว้างขวางออกไปในวันข้างหน้า
พอถึงปี พ.ศ. 2455 รัฐบาลอังกฤษได้ประกาศรับรองฐานะของลูกเสืออังกฤษเป็นทางการพร้อมกับออกกฎหมายคุ้มครองให้ด้วย
จากนั้นการลูกเสืออังกฤษก็เจริญแพร่หายออกไปเป็นลำดับมา
คติพจน์ที่ท่านลอร์ดบาเดนเพาเวลล์ได้ให้ไว้แก่ลูกเสือก็คือ BE PREPARED (จงเตรียมพร้อม)
• หนังสือ Scouting for boys พิมพ์ออกจำหน่ายทั้งหมด 6 เล่มและประเทศต่างๆที่มีกิจการ Scout ก็มักเคยพิมพ์ออกเผยแพร่สำหรับผู้ที่สนใจรวมทั้งประเทศไทยด้วย
• ต่อมา พลโท โรเบิร์ต เบเดน โพเอลล์
ได้รับการแต่งตั้งให้เป็น บารอน ซึ่งบรรดาศักดิ์นี้พระราชทานโดยพระเจ้ายอร์จ
ที่ 5 ในปี
พ.ศ. 2472 ทำให้เขาเป็นสมาชิกสภาขุนนาง
ซึ่งตามประเพณีของอังกฤษผู้ที่ได้รับพระราชทานบรรดาศักดิ์ ตั้งแต่บารอนขึ้นไป
จะต้องมีชื่อสถานที่ต่อท้าย ซึ่งเขาเลือกเอา กิลเวลล์ (Gil Well Park) ที่เป็นชื่อของศนย์ฝึกอบรมผู้บังคับบัญชาลูกเสือนานาชาติ
ทำให้เขาได้ชื่อตามบรรดาศกดิ์ว่า บารอน เบเดน โพเอลล์ แห่ง กิลเวลล์ แต่คนทั่วไปมักนิยมเรียก ลอร์ด เบเดน โพเอลล์ ในการชุมนุม Scout ครั้งแรกของโลกในปี พ.ศ. 2463 ที่ประชุมผู้แทน Scout จากประเทศต่างๆ
ก็ประกาศให้เขาเป็นประมุขของ Scout ตลอดกาล
และทุกคนเรียกท่านอย่างย่อๆว่า B-P
พุทธศักราช
2454
(ค.ศ. 1911)
พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงก่อตั้งกิจการลูกเสือไทย
เมื่อวันที่ 1 กรกฎาคม 2454
พุทธศักราช 2463 (ค.ศ. 1920)
ส่งผู้แทนคณะลูกเสือไทยไปร่วมงานชุมนุมลูกเสือโลก ครั้งที่ 1 ณ ประเทศอังกฤษ
ส่งผู้แทนคณะลูกเสือไทยไปร่วมงานชุมนุมลูกเสือโลก ครั้งที่ 1 ณ ประเทศอังกฤษ
พุทธศักราช 2465 (ค.ศ. 1922)
คณะลูกเสือแห่งชาติ เข้าเป็นสมาชิกสมัชชาลูกเสือโลก
คณะลูกเสือแห่งชาติ เข้าเป็นสมาชิกสมัชชาลูกเสือโลก
พุทธศักราช 2467 (ค.ศ. 1924)
ส่งผู้แทนคณะลูกเสือไทยไปร่วมงานชุมนุมลูกเสือโลก ครั้งที่ 2 ณ ประเทศเดนมาร์ก
ส่งผู้แทนคณะลูกเสือไทยไปร่วมงานชุมนุมลูกเสือโลก ครั้งที่ 2 ณ ประเทศเดนมาร์ก
พุทธศักราช 2470 (ค.ศ. 1927)
จัดงานชุมนุมลูกเสือแห่งชาติครั้งที่ 1 (1st National Jamboree) ณ พระราชอุทยานสราญรมย์
26 กุมภาพันธ์ - 3 มีนาคม 2470 จำนวนลูกเสือไทยทั้งสิ้น 1,836
จัดงานชุมนุมลูกเสือแห่งชาติครั้งที่ 1 (1st National Jamboree) ณ พระราชอุทยานสราญรมย์
26 กุมภาพันธ์ - 3 มีนาคม 2470 จำนวนลูกเสือไทยทั้งสิ้น 1,836
พุทธศักราช 2473
จัดงานชุมนุมลูกเสือแห่งชาติครั้งที่ 2 (2st National Jamboree) ณ พระราชอุทยานสราญรมย์
1-7 มกราคม 2473 จำนวนลูกเสือไทย 1,955 คน ลูกเสือต่างประเทศ 22 คน
พุทธศักราช 2478
กำเนิดตราประจำคณะลูกเสือแห่งชาติ
พุทธศักราช 2497
จัดงานชุมนุมลูกเสือแห่งชาติครั้งที่ 3 (3st National Jamboree) ณ กรีฑาสถานแห่งชาติพระนคร
20-26 พฤศจิกายน 2497 จำนวนลูกเสือไทย 5,155 คน
พุทธศักราช 2499 (ค.ศ. 1956)
เป็นสมาชิกของสำนักงานลูกเสือภาคตะวันออกไกล ซึ่งเพิ่งจัดตั้งขึ้น ขณะนั้นมีประเทศสมาชิกอยู่ 10 ประเทศ
เป็นสมาชิกของสำนักงานลูกเสือภาคตะวันออกไกล ซึ่งเพิ่งจัดตั้งขึ้น ขณะนั้นมีประเทศสมาชิกอยู่ 10 ประเทศ
พุทธศักราช 2504 (ค.ศ. 1961)
เฉลิมฉลองครบรอบ 50 ปีลูกเสือไทย
จัดงานชุมนุมลูกเสือแห่งชาติครั้งที่ 4 ณ สวนลุมพินี พระนคร
19-25 พฤจิกายน 2504 จำนวนลูกเสือไทย 5,539 คน ลูกเสือต่างประเทศ 348 คน
เฉลิมฉลองครบรอบ 50 ปีลูกเสือไทย
จัดงานชุมนุมลูกเสือแห่งชาติครั้งที่ 4 ณ สวนลุมพินี พระนคร
19-25 พฤจิกายน 2504 จำนวนลูกเสือไทย 5,539 คน ลูกเสือต่างประเทศ 348 คน
พุทธศักราช 2505 (ค.ศ. 1962)
เป็นเจ้าภาพจัดการประชุมผู้บังคับบัญชาลูกเสือภาคพื้นตะวันออกไกล ครั้งที่ 3 (3rd Far East Scout Conference) ณ ศาลาสันติธรรม
เป็นเจ้าภาพจัดการประชุมผู้บังคับบัญชาลูกเสือภาคพื้นตะวันออกไกล ครั้งที่ 3 (3rd Far East Scout Conference) ณ ศาลาสันติธรรม
พุทธศักราช 2508 (ค.ศ. 1965)
จัดงานประชุมสภาลูกเสือแห่งชาติ ครั้งที่ 1 (1st National Scout Conference)
จัดงานชุมนุมลูกเสือแห่งชาติครั้งที่ 5 (5st National Jamboree) ณ ค่ายลูกเสือวชิราวุธ
9-15 ธันวาคม 2508 จำนวนลูกเสือไทย 5,736 คน ลูกเสือต่างประเทศ 431 คน
จัดงานประชุมสภาลูกเสือแห่งชาติ ครั้งที่ 1 (1st National Scout Conference)
จัดงานชุมนุมลูกเสือแห่งชาติครั้งที่ 5 (5st National Jamboree) ณ ค่ายลูกเสือวชิราวุธ
9-15 ธันวาคม 2508 จำนวนลูกเสือไทย 5,736 คน ลูกเสือต่างประเทศ 431 คน
พุทธศักราช 2512 (ค.ศ. 1969)
จัดงานชุมนุมลูกเสือแห่งชาติครั้งที่ 6 (6st National Jamboree) ณ ค่ายลูกเสือวชิราวุธ
11-17 ธันวาคม 2512 จำนวนลูกเสือไทย 5,000 คน ลูกเสือต่างประเทศ 582 คน
จัดงานชุมนุมลูกเสือแห่งชาติครั้งที่ 6 (6st National Jamboree) ณ ค่ายลูกเสือวชิราวุธ
11-17 ธันวาคม 2512 จำนวนลูกเสือไทย 5,000 คน ลูกเสือต่างประเทศ 582 คน
พุทธศักราช 2514 (ค.ศ. 1971)
เฉลิมฉลองครบรอบ 60 ปีการลูกเสือไทย
ทดลองเปิดอบรมลูกเสือชาวบ้านครั้งแรก ณ บ้านเหล่ากอหก กิ่งอำเภอนาแห้ว จังหวัดเลย
จัดงานชุมนุมลูกเสือแห่งชาติครั้งที่ 7 (7st National Jamboree) ณ ค่ายลูกเสือวชิราวุธ
28-30 มิถุนายน 2514 จำนวนลูกเสือไทย 1,667 ลูกเสือต่างประเทศไม่ได้เข้าร่วม
พุทธศักราช 2516 (ค.ศ. 1973)
จัดงานชุมนุมลูกเสือแห่งชาติครั้งที่ 8 (8st National Jamboree) ณ ค่ายลูกเสือวชิราวุธ
23-30 พฤศจิกายน 2516 จำนวนลูกเสือไทย 4,968 คน ลูกเสือต่างประเทศ 256 คน
จัดงานชุมนุมลูกเสือแห่งชาติครั้งที่ 8 (8st National Jamboree) ณ ค่ายลูกเสือวชิราวุธ
23-30 พฤศจิกายน 2516 จำนวนลูกเสือไทย 4,968 คน ลูกเสือต่างประเทศ 256 คน
พุทธศักราช 2520 (ค.ศ. 1977)
จัดงานชุมนุมลูกเสือแห่งชาติครั้งที่ 9 (9st National Jamboree) ณ ค่ายลูกเสือวชิราวุธ
21-27 พฤศจิกายน 2520 จำนวนลูกเสือไทย 10,827 คน ลูกเสือต่างประเทศ 159 คน
จัดงานชุมนุมลูกเสือแห่งชาติครั้งที่ 9 (9st National Jamboree) ณ ค่ายลูกเสือวชิราวุธ
21-27 พฤศจิกายน 2520 จำนวนลูกเสือไทย 10,827 คน ลูกเสือต่างประเทศ 159 คน
พุทธศักราช 2523 (ค.ศ. 1980)
จัดงานชุมนุมลูกเสือแห่งชาติครั้งที่ 10 (10st National Jamboree) ณ ค่ายลูกเสือวชิราวุธ
28 ธ.ค. 2523 - 3 ม.ค. 2524 จำนวนลูกเสือไทย 12,692 คน ลูกเสือต่างประเทศ 108 คน
จัดงานชุมนุมลูกเสือแห่งชาติครั้งที่ 10 (10st National Jamboree) ณ ค่ายลูกเสือวชิราวุธ
28 ธ.ค. 2523 - 3 ม.ค. 2524 จำนวนลูกเสือไทย 12,692 คน ลูกเสือต่างประเทศ 108 คน
พุทธศักราช 2528 (ค.ศ. 1985)
เป็นเจ้าภาพจัดงานชุมนุมลูกเสือภาคพื้นเอเชีย-แปซิฟิก ครั้งที่ 9
งานชุมนุมลูกเสือแห่งชาติ ครั้งที่ 11 (11st National Jamboree) ณ ค่ายลูกเสือวชิราวุธ
21-27 พฤศจิกายน 2528 จำนวนลูกเสือไทย 5,336 คน ลูกเสือต่างประเทศ 391 คน
เป็นเจ้าภาพจัดงานชุมนุมลูกเสือภาคพื้นเอเชีย-แปซิฟิก ครั้งที่ 9
งานชุมนุมลูกเสือแห่งชาติ ครั้งที่ 11 (11st National Jamboree) ณ ค่ายลูกเสือวชิราวุธ
21-27 พฤศจิกายน 2528 จำนวนลูกเสือไทย 5,336 คน ลูกเสือต่างประเทศ 391 คน
พุทธศักราช 2529 (ค.ศ. 1986)
เป็นเจ้าภาพจัดการประชุมสมัชชาลูกเสือภาคพื้นเอเชีย-แปซิฟิก ครั้งที่ 15
พุทธศักราช 2532 (ค.ศ. 1989)
งานชุมนุมลูกเสือครั้งที่ 12 ณ ค่ายลูกเสือวชิราวุธ
21-27 พฤศจิกายน 2532 จำนวนลูกเสือไทย 9,330 คน ลูกเสือต่างประเทศ 422 คน
พุทธศักราช 2534 (ค.ศ. 1991)
จัดกิจกรรมเฉลิมฉลอง 80 ปีลูกเสือไทย
งานชุมนุมลูกเสือแห่งชาติ ครั้งที่ 13 (13st National Jamboree) ณ ค่ายลูกเสือวชิราวุธ
1-7 กรกฎาคม 2534 จำนวนลูกเสือไทย 10,022 คน ลูกเสือต่างประเทศ 357 คน
จัดกิจกรรมเฉลิมฉลอง 80 ปีลูกเสือไทย
งานชุมนุมลูกเสือแห่งชาติ ครั้งที่ 13 (13st National Jamboree) ณ ค่ายลูกเสือวชิราวุธ
1-7 กรกฎาคม 2534 จำนวนลูกเสือไทย 10,022 คน ลูกเสือต่างประเทศ 357 คน
พุทธศักราช 2536 (ค.ศ. 1993)
เป็นเจ้าภาพจัดการประชุมสมัชชาลูกเสือโลก ครั้งที่ 33 ที่กรุงเทพ (33rd World Scout Conference)
งานชุมนุมลูกเสือแห่งชาติ ครั้งที่ 14 (14st National Jamboree) ณ ค่ายลูกเสือวชิราวุธ
22-28 พฤศจิกายน 2536 จำนวนลูกเสือไทย 10,263 คน ลูกเสือต่างประเทศ 357 คน
เป็นเจ้าภาพจัดการประชุมสมัชชาลูกเสือโลก ครั้งที่ 33 ที่กรุงเทพ (33rd World Scout Conference)
งานชุมนุมลูกเสือแห่งชาติ ครั้งที่ 14 (14st National Jamboree) ณ ค่ายลูกเสือวชิราวุธ
22-28 พฤศจิกายน 2536 จำนวนลูกเสือไทย 10,263 คน ลูกเสือต่างประเทศ 357 คน
พุทธศักราช 2540 (ค.ศ. 1997)
จัดงานชุมนุมลูกเสือแห่งชาติครั้งที่ 15 (15st National Jamboree) ณ ค่ายลูกเสือวชิราวุธ
21-27 พฤศจิกายน 2540 จำนวนลูกเสือไทย 11,274 คน ลูกเสือต่างประเทศ 160 คน
จัดงานชุมนุมลูกเสือแห่งชาติครั้งที่ 15 (15st National Jamboree) ณ ค่ายลูกเสือวชิราวุธ
21-27 พฤศจิกายน 2540 จำนวนลูกเสือไทย 11,274 คน ลูกเสือต่างประเทศ 160 คน
พุทธศักราช 2544 (ค.ศ. 2001)
เฉลิมฉลองครบรอบ 90 ปีลูกเสือไทย
เตรียมการ การจัดงานชุมนุมลูกเสือโลก
จัดงานชุมนุมลูกเสือแห่งชาติ ครั้งที่ 16 ณ หาดยาว จ.ชลบุรี
28 ธ.ค. 2544 - 4 ม.ค. 2545
เฉลิมฉลองครบรอบ 90 ปีลูกเสือไทย
เตรียมการ การจัดงานชุมนุมลูกเสือโลก
จัดงานชุมนุมลูกเสือแห่งชาติ ครั้งที่ 16 ณ หาดยาว จ.ชลบุรี
28 ธ.ค. 2544 - 4 ม.ค. 2545
พุทธศักราช 2546 (ค.ศ. 2003)
เป็นเจ้าภาพจัดงานชุมนุมลูกเสือโลก ครั้งที่ 20 (20th World Scout Jamboree)
พุทธศักราช 2548 (ค.ศ. 2005)
จัดงานชุมนุมลูกเสือแห่งชาติครั้งที่ 17 (17st National Jamboree) ณ หาดยาว จ.ชลบุรี
25-31 กรกฎาคม 2548
เป็นเจ้าภาพจัดงานชุมนุมลูกเสือภาคพื้นเอเชีย-แปซิฟิก ครั้งที่ 25 (25th Asia - Pacific Regional Scout Jamboree)
พุทธศักราช 2552 (ค.ศ. 2009)
จัดงานชุมนุมลุกเสือแห่งชาติครั้งที่ 18 ณ ค่ายลูกเสือไทยเฉลิมพระเกียรติ จ.ตรัง
25-30 เมษายน 2552
พุทธศักราช 2554 (ค.ศ. 2011)
เฉลิมฉลองครบรอบ 100 ปีการลูกเสือไทย
คำปฏิญาณของลูกเสือ
ด้วยเกียรติของข้า
ข้าสัญญาว่า
ข้อ 1. ข้าจะจงรักภักดีต่อชาติ
ศาสนา พระมหากษัตริย์
ข้อ 2. ข้าจะช่วยเหลือผู้อื่นทุกเมื่อ
ข้อ 3 . ข้าจะปฏิบัติตามกฎของลูกเสือ
กฎของลูกเสือ มี 10 ข้อ
ข้อ 1. ลูกเสือมีเกียรติเชื่อถือได้
ข้อ 2. ลูกเสือมีความจงรักภักดีต่อชาติ
ศาสนา พระมหากษัตริย์ และซื่อตรง
ต่อผู้มีพระคุณ
ข้อ 3. ลูกเสือมีหน้าที่กระทำตนให้เป็นประโยชน์และช่วยเหลือผู้อื่น
ข้อ 4. ลูกเสือเป็นมิตรของคนทุกคนและเป็นพี่น้องกับลูกเสืออื่นทั่วโลก
ข้อ 4. ลูกเสือเป็นมิตรของคนทุกคนและเป็นพี่น้องกับลูกเสืออื่นทั่วโลก
ข้อ 5. ลูกเสือเป็นผู้สุภาพเรียบร้อย
ข้อ 6. ลูกเสือมีความเมตตากรุณาต่อสัตว์
ข้อ 7. ลูกเสือเชื่อฟังคำสั่งของบิดามารดา
และผู้บังคับบัญชาด้วยความ
เคารพ
ข้อ 8. ลูกเสือมีใจร่าเริง
และไม่ย่อท้อต่อความยากลำบาก
ข้อ 9. ลูกเสือเป็นผู้มัธยัสถ์
ข้อ 10. ลูกเสือประพฤติชอบด้วยกาย
วาจา ใจ
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น